Visitors
Today
268
Yesterday
272
This Month
3,063
Last Month
3,683
This Year
12,982
Last Year
33,855

e-Book

คำเก่า-คำถิ่นในคำซ้อน หนังสือชุด “วัจนวิวัฒน์” ลำดับที่ 1 [Cu-eBook]


ชื่อเรื่อง:
คำเก่า-คำถิ่นในคำซ้อน หนังสือชุด “วัจนวิวัฒน์” ลำดับที่ 1 [Cu-eBook]
ผู้แต่ง
วิภาส โพธิแพทย์
สำนักพิมพ์
-
เลขเรียกหนังสือ
PL 4158 ว657ค 2565
ดาวน์โหลดไฟล์
ในภาษาไทย มีคำกลุ่มหนึ่งเกิดจากการนำคำที่อยู่ในวงความหมายเดียวกันมาประกอบกัน ตำรา นิรุกติศาสตร์ ภาค ๒ ของพระยาอนุมานราชธน เรียกคำกลุ่มนี้ว่า “คำซ้อน” เช่น ถ่องแท้ เคียดแค้น น่าสังเกตว่า คำที่เป็นส่วนประกอบของคำซ้อนจำนวนไม่น้อยเป็นคำที่บอกความหมายได้ยาก และมักไม่ใช้ลำพัง ต้องใช้ซ้อนกับคำอื่น เช่น ถ่อง ซึ่งต้องใช้ซ้อนกับ แท้ เป็น ถ่องแท้ หรือ เคียด ซึ่งต้องใช้ซ้อนกับ แค้น เป็น เคียดแค้น อย่างไรก็ตาม หากสืบค้นประวัติของคำอย่าง ถ่อง หรือ เคียด จะพบว่าคำส่วนใหญ่มีความหมายและใช้ลำพังได้ในภาษาเก่าโดยเฉพาะในวรรณคดีโบราณ และอาจพบในภาษาถิ่นด้วย เช่น ถ่อง หมายถึง ‘ชัด, แท้’ หรือ เคียด หมายถึง ‘โกรธ’ ทั้ง ๒ คำใช้ลำพังได้ทั้งในภาษาเก่าและภาษาถิ่น

2022-05-12 15:28:00