บทคัดย่อ |
ผู้จัดทำโครงงานได้ทำการศึกษาและจัดโครงงานเรื่อง POKA-YOKE การศึกษาการลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานและลดของเสีย กรณีศึกษา บริษัท สุภาวุฒิ อินดัสทรี จำกัด ปัญหาที่พบจากการได้เข้าไปทำงานคือ บริษัทมีปัญหาในเรื่องของการผลิตทำให้มีของเสียเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และยังพบว่าบางครั้งได้มีของเสียหลุดไปถึงลูกค้า ส่งผลให้บริษัทถูกปรับเงินและเสียชื่อเสียง วัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงงานคือ 1. เพื่อลดของเสีย 2. เพื่อลดต้นทุนในการ rework การดำเนินการแก้ไขคือ ผู้จัดทำโครงการศึกษาถึงขั้นตอนการทำงานของพนักงาน พบว่าพนักงานจะชอบลืมเจาะรูบนชิ้นงาน ทำไห้เกิดค่าใช้จ่ายในการส่งชิ้นงานจากลูกค้ากลับมายังบริษัท แนวทางแก้ปัญหาคือ ใช้วิธีการและแนวคิด poka-yoke มาใช้โดยการจัดทำ jig ที่ไว้ใช้ตรวจสอบรูที่ชิ้นงานเพื่อเป็นการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานและลดของเสีย ผลการดำเนินโครงการพบว่า หลังจากการปรับปรุงพบว่า สามารถช่วยป้องกันการเกิดของเสียเนื่องจากพนักงานลืมเจาะรูบนชิ้นงานได้ และช่วยลดต้นให้บริษัทในเรื่องการแก้ไขงานให้ลูกค้า ก่อนการแก้ไขมีของเสีย 3,317 ชิ้น/เดือน เป้าหมายในการลดของเสีย 30% คือ 995 ชิ้น/เดือน หลังการแก้ไขพบของเสียลดลงเหลือ 2,322 ชิ้น/เดือน เมื่อเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ (995x100)/3,317 = 30% เดือน
|