Knowledge Bank SPUC

ค้นหาแบบละเอียด

ค้นจาก

สรรธาน ภู่คำผลการค้นหาทั้งหมด 1 บทความ
Title Author(s) Call No
ปัญหาหลักปฎิบัติแรงงานต่างด้าวในธุรกิจประมงทะเล สรรธาน ภู่คำ
ว.พ HD 6300 ส334ป 2552
< 1 >
บทความ รายละเอียด
  หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
ชื่อเรื่อง ปัญหาหลักปฎิบัติแรงงานต่างด้าวในธุรกิจประมงทะเล
ผู้แต่ง สรรธาน ภู่คำ
คำสำคัญ แรงงานต่างด้าว
ประมง
วันที่ 2565-05-31
บทคัดย่อ ธุรกิจประมงทะเลเป็นหนึ่งธุรกิจที่สำคัญสำหรับประเทศไทย เพราะเป็นอีพที่สร้างรายได้ให้กับประเทศนับหลายแสนล้าน นอกจากนี้แล้วธุรกิจประมงทะเลยังมีผลทำให้เกิดธุรกิจต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมธุรกิจแช่แข็ง และอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการจ้างงานปัจจุบันผู้ประกอบการหรือนายจ้างจำเป็นต้องหาแรงงานต่างด้าวจากประเทศพม่า ลาว กัมพูชา เข้ามาทำงาน เนื่องจากค่าแรงถูกเพื่อเสริมแรงงานที่ขาดแคลน ด้วยเหตุผลนี้แรงงานคนเป็นปัจจัยหลักของธุรกิจนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในเรื่องของแรงงานต่างด้าวในธุรกิจประมงทะเลไทยย่อมทำให้รู้ถึงสภาพของปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมเศรษฐกิจ และความมั่นคงของไทย โดยที่มีสาระสำคัญในปัญหาคือในกณรีการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฏหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ.2482 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 กำหนดให้แก่คนไทยในการทำประมงในเขตการประมงไทย ตามาตรา 4 และยังห้ามมิให้ออกใอนุญาตสำหรับการทำประมงคนต่างด้าวคนใดคนหนึ่งตามมาตรา 5 นอกจากนี้แล้วคนต่างด้าวที่เข้ามาผิดกฏหมายเพราะธุรกิจประมงทะเลเป็นอาชีพที่คนต่างด้าวห้ามทำตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ซึ่งฉบับปัจจุบันแก้ไขเป็นพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ต้องอาศัยมาตรา 12 เพื่อให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้คนต่างด้าวจึงสามารถเข้ามาทำงานได้ นอกจากนั้นยังเป็นการที่ผิดการกระทำตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 12 ห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร ผลการศึกษาพบว่า แรงงานต่างด้าวที่มีสภาพที่ผิดกฏหมายคนเข้าเมืองต้องอาศัยพระราชบัญญัติการทำงานคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ออกใบอนุญาตเพื่อให้ถูกกฏหมายมีความซับซ้อน โดยมีการวางหลักเกณฑ์ทั่วไป มีข้อยกเว้นและข้อยกเว้นซ้อนข้อยกเว้นทำให้ยากต่อการตีความ ส่วนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 บทบัญญัติที่กำหนดไว้ในกฏหมายคุ้มครองแรงงานโดยทั่วไปมุ่งประสงค์ในการให้การคุ้มครองแก่แรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่ทำงานบนบกเป็นหลักเกิดความไม่สอดคล้องกับสภาพการทำงานจริง และแนวทางการปฏิบัติของแรงงงานต่างด้าวในธุรกิจประมงทะเลที่ยังไม่เป็นหลักสากล ส่วนใหญ่แตกต่างและยังไม่สอดคล้องเป็นทำนองเดียวกับสิทธิแรงงานประเภทเดียวกันตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organzation) ได้แก่ การตรวจสุขภาพ การฝึกอาชีพ แรงงานประมง สัญญาจ้างหรือข้อตกลงในการจ้างงาน ชั่วโมงการทำงาน สวัสดิการ และความปลอดภัยในการทำงานเป็นต้น ซึ่งกฏหมายคุ้มครองของประเทศอเมริกาและญี่ปุ่นให้ความคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในธุรกิจประมงทะเลเป็นแบบอย่างที่ดี วึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศฟิลิปปินส์ที่มีการฝึกทักษะฝีมือมีรูปแบบและขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ควรทำส่วนดีของทั้งสามประเทศมาเป็นแบบอย่าง เพื่อปรับปรุงและยกร่างเป็นกฏหมายในประเทศ อีทั้งนายจ้างควรไปขึ้นทะเบียนลุกจ้างให้ถูกต้องตามกฏหมาย โดยภาครัฐควรกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนมากกว่าปีละครั้ง ไม่ควรกำหนดเวลา เพื่อให้เข้าถึงพื้นฐานภาครัฐ และตัวเลขในระบบควบคุมจะได้ตรงตามสภาพความเป็นจริงเป็นปัญหาที่รัฐบาลและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันแก้ไขทั้งปัจจุบันและอนาคต โดยจะต้องร่วมมือกันทั้งประเทศต้นทาง และปลายทางเพื่อวางแผนแก้ไขแนวทางความร่วมมือให้เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ (Memmorandum of Understandding) ร่วมกันต่อไป
เอกสารบทคัดย่อ ไม่พบเอกสาร..
URL คลิกที่นี่ ...
Call No ว.พ HD 6300 ส334ป 2552
เอกสาร กรุณาเข้าสู่ระบบหรือติดต่อเจ้าหน้าที่...library@chonburi.spu.ac.th <เข้าสู่ระบบ>