Knowledge Bank SPUC

ค้นหาแบบละเอียด

ค้นจาก

อาทิตย์ จันทนทัศน์ผลการค้นหาทั้งหมด 1 บทความ
Title Author(s) Call No
กระบวนการเปิดรับและสื่อสารด้านการเมืองผ่านเฟซบุ๊คของประชาชนในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาประเด็นทางด้านการเมืองปีพ.ศ.2556-2557 อาทิตย์ จันทนทัศน์
ว.พ JQ 1749 อ621ก 2557
< 1 >
บทความ รายละเอียด
  หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
ชื่อเรื่อง กระบวนการเปิดรับและสื่อสารด้านการเมืองผ่านเฟซบุ๊คของประชาชนในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาประเด็นทางด้านการเมืองปีพ.ศ.2556-2557
ผู้แต่ง อาทิตย์ จันทนทัศน์
คำสำคัญ การสื่อสาร
เฟซบุ๊ค
การเมือง
การเปิดรับข่าวสาร
วันที่ 2559-09-21
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง ‚กระบวนการเปิดรับ และสื่อสารด้านการเมืองผ่านเฟซบุ๊คของประชาชน ในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ประเด็นทางด้านการเมือง พ.ศ.2556 - 2557‛ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความแตกต่างของลักษณะประชากรกับพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊คเพื่อสื่อสารด้านการเมือง 2. เพื่อศึกษาความแตกต่างของพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊คเพื่อสื่อสารด้านการเมืองกับกระบวนการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองผ่านทางเฟซบุ๊ค 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความคิดเห็นเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของการใช้เฟซบุ๊ค เพื่อสื่อสารด้านการเมืองกับกระบวนการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองผ่านทางเฟซบุ๊ค 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกระบวนการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองผ่านทางเฟซบุ๊คกับการใช้ประโยชน์จากการสื่อสารด้านการเมืองผ่านทางเฟซบุ๊ค กลุ่มตัวอย่าง มีทั้งสิ้น 400 คนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และเคยใช้เฟซบุ๊คเพื่อสื่อสารด้านการเมือง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่า เพศชาย อายุระหว่าง 25 - 31 ปี ประกอบอาชีพลูกจ้างเอกชน/พนักงาน มีรายได้ต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท และมีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีการใช้เฟซบุ๊คเพื่อสื่อสารด้านการเมือง มากกว่า 1 ครั้งต่อวัน ระยะเวลาที่ใช้ คือ 1 - 2 ชั่วโมง / ครั้ง พฤติกรรมการใช้ที่พบมากที่สุดที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพ คือ การกด ถูกใจ (Like) แต่ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล คือ เพิ่มเพื่อน (Add friend) และนอกจากการเปิดรับข่าวสารจากเฟซบุ๊คแล้ว ก็เปิดรับข่าวสารจากโทรทัศน์มากที่สุด ในด้านการเลือกเปิดรับ พบว่า มีการเลือกเปิดรับข่าวสาร ด้านการเมืองผ่านเฟซบุ๊ค เพราะเป็นช่องทางที่เข้าถึงได้สะดวกที่สุด ในด้านการเลือกสนใจ พบว่า การเลือกเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองผ่านทางเฟซบุ๊ค ผู้ใช้มักจะเลือกกดถูกใจ (Like) ข่าวสารด้านการเมืองที่ตรงกับความสนใจของตนมากที่สุด ในด้านการเลือกรับรู้ พบว่า ผู้ใช้มักจะตีความข่าวสารด้านการเมืองที่ตนได้รับผ่านทางเฟซบุ๊ค ตามความรู้ / ประสบการณ์เดิมมากที่สุด ในด้านการเลือกจดจา พบว่า ผู้ใช้มักจะจดจำข่าวสารด้านการเมืองที่สอดคล้องกับความต้องการของตนมากที่สุด ส่วนของความคิดเห็นเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของการใช้เฟซบุ๊คเพื่อสื่อสารประเด็นทางด้านการเมือง พบว่า ข่าวสารด้านการเมืองที่นำเสนอผ่านทางเฟซบุ๊คมีความน่าเชื่อถือมากกว่าข่าวสารด้านการเมืองที่นำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ในขณะที่การใช้ประโยชน์จากการสื่อสารประเด็นทางด้านการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ.2556 - 2557 ผ่านทางเฟซบุ๊ค พบว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊คนั้นใช้เพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับด้านการเมืองมากที่สุด และ เพศ อายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊คเพื่อสื่อสารด้านการเมืองแตกต่างกัน ความถี่ในการใช้เฟซบุ๊ค ระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้เฟซบุ๊ค ลักษณะการใช้ในการใช้เฟซบุ๊ค สักษณะของกิจกรรม ลักษณะการใช้สื่อที่แตกต่างกัน จะมีกระบวนการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองผ่านเฟซบุ๊ค และกระบวนการเปิดรับข่าวสารแตกต่างกัน ในขณะที่ความน่าเชื่อถือของการใช้เฟซบุ๊คเพื่อสื่อสารด้านการเมืองมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับกระบวนการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองผ่านทางเฟซบุ๊ค และกระบวนการเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองผ่านทางเฟซบุ๊คมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก กับการใช้ประโยชน์จากการสื่อสารด้านการเมืองผ่านทางเฟซบุ๊ค
เอกสารบทคัดย่อ ไม่พบเอกสาร..
URL คลิกที่นี่ ...
Call No ว.พ JQ 1749 อ621ก 2557
เอกสาร กรุณาเข้าสู่ระบบหรือติดต่อเจ้าหน้าที่...library@chonburi.spu.ac.th <เข้าสู่ระบบ>